top of page

ข้อกำหนดในงานก่อสร้าง

ระยะ covering concrete

ระยะ covering คอนกรีต

ระยะหุ้มคอนกรีต.png

#ระยะCoveringคอนกรีต

.

หรือ ระยะหุ้มคอนกรีต (Concrete Covering)มีไว้เพื่อป้องกันความชื้น-น้ำ แทรกซึมเข้าไปในเนื้อคอนกรีต ทำให้เหล็กเสริมข้างในเป็น"สนิม" รวมถึงมีระยะการยึดตัวระหว่างเหล็กกับคอนกรีตให้เพียงพอด้วย โดยส่งผลต่อความแข็งแรงโครงสร้างในระยะยาว

.

ฉะนั้นเมื่อวางเหล็กเสริมแล้วจะเทคอนกรีตเลยไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ใส่ "ลูกปูน" หนุนหรือรองเหล็กให้ดีก่อน โดยระยะหุ้มคอนกรีตขึ้นอยู่กับจุดที่นำไปใช้ เช่น ฐานรากใช้ 5 ซม. เนื่องจากสัมผัสดินและความชื้น ส่วนเสา-คานทั่วไปใช้2.5 ซม. หรือ พื้น-ผนังหล่อใช้ 2 ซม. เป็นต้น

.

.

Tip :

1) ระยะ Covering มาก ๆ ใช่ว่าจะดีเสมอไปต้องรู้ระยะ Covering เหมาะสมด้วย เพราะต้องดูระยะเรียงเหล็ก ซึ่งจะมีผลต่อการรับแรงรวมถึงการเทคอนกรีตเวลาทำงานจริงด้วย

.

2) ระยะห่างในการวางลูกปูนก็ต้องเหมาะสมเพราะถ้าห่างไปเหล็กก็ตกท้องช้าง ระยะหุ้มไม่พอได้ โดยทั่วไปห่างประมาณ 0.5 - 1 ม.ขึ้นอยู่กับขนาดเหล็กเสริม

ระยะเวลาในกรถอดแบบ
ระยะเวลาในการถอดแบบ.png

#ระยะเวลาถอดแบบ
.
หลังเทคอนกรีตเสร็จแล้ว ยังไม่สามารถจะถอดแบบและค้ำยันออกได้ ต่อเมื่อคอนกรีตมีกำลังอัดเพียงพอ ที่จะสามารถรับน้ำหนักที่จะเกิดขึ้นในการก่อสร้างต่อไปได้
.
จึงมีข้อกำหนดในการถอดแบบและค้ำยันต่าง ๆไว้อ้างอิงกัน ได้ทั้ง 2 กรณี ดังนี้
1) กรณีถอดแบบหล่อ "ตามเวลา"
- แบบข้างคาน-ฐานราก : 2 วัน
- แบบข้างเสา-กำแพง : 2 วัน
เนื่องจากการเซ็ตตัวของคอนกรีตช่วงแรก ๆ นั้นมีสำคัญมาก จึงห้ามทำการก่อสร้างใด ๆ บนคอนกรีตที่เท จนกว่าจะพ้น 24-48 ชม.
- แบบล่างรองรับคาน-พื้น : 14 วัน เนื่องจากเป็นเวลาที่มีการทดสอบแล้วว่า
กำลังคอนกรีตได้เพิ่มขึ้นมาที่ประมาณ 87% เมื่อเทียบกับคอนกรีตที่เซ็ตตัว มบูรณ์ 100% จึงพอรับน้ำหนักได้ แล้วให้มีการค้ำตามจุดต่างๆต่อ ที่เหมาะสมตามที่วิศวกรแนะนำ
.
2) กรณีถอดแบบหล่อ "ตามค่ากำลังอัด"
- แบบข้างคาน-เสา-ฐานราก : 50 KSC
- แบบล่างรองรับคาน-พื้น : 140 KSC
.
.
Tip :
แบบหล่อและค้ำยันต่าง ๆ ต้องแข็งแรงมั่นคง สามารถรับน้ำหนักขณะเท อนกรีตและจี้เขย่าได้โดยไม่ทรุดหรือแอ่นตัวจนเสียระดับหรือเสียแนว
________

#การบ่มคอนกรีต
.
เมื่อเทคอนกรีตแล้ว "ต้องบ่มคอนกรีตทันที" เพราะการบ่มช่วยให้การเซ็ตตัวของคอนกรีตเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ จนกระทั่งได้กำลังตามต้องการ โดยเฉพาะสภาพอากาศที่ร้อน ๆ อย่างบ้านเรา ทำให้คอนกรีตเกิดการสูญเสียน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้คอนกรีตอ่อนแอลงกว่าที่ควรจะเป็นได้
.
การบ่มคอนกรีตในปัจจุบันนิยมกันอยู่ 2 วิธีคือ
1) "การบ่มเปียก" เช่น การใช้น้ำขัง วัสดุเปียกชื้นคลุม เช่น ผ้ากระสอบ หรือ ฉีด-พรมน้ำ ฯลฯ เป็นวิธีที่ทำให้ผิวหน้ายังคงมีความชื้นอยู่ และต้องบ่มต่อ "ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 7 วัน"
.
2) "การบ่มโดยป้องกันการเสียน้ำ" ที่เห็นกัน บ่อย ๆ คือ แผ่นฟิล์มพลาสติกพันรอบ หรือน้ำยาบ่มคอนกรีตทาเคลือบเป็นฟิล์ม ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยทาทันทีเมื่อคอนกรีตเริ่มแห้ง และต้องทาให้ความหนาเพียงพอ 

ระยะทาบเห็กเสริม
ระยะต่อทาบเหล็กเสริม.png

#ระยะทาบเหล็กเสริม
.
เนื่องจากเหล็กที่ขายกันในท้องตลาดนั้น มีความยาวจำกัดเพียงท่อนละ 10 ม. แต่ในงานก่อสร้างมีช่วงยาวเกิน ไม่สามารถหาเหล็กได้ จึงต้องมีการต่อเหล็ก ซึ่งทำได้หลายวิธี แต่ วิธีที่ไม่ยุ่งยาก และนิยมกันที่สุด คือ "การต่อทาบ"
.
จึงต้องมีการกำหนดระยะทาบเหล็กให้ยังคง รับแรงได้ตามวิศวกรออกแบบไว้ ดังนี้
1) เหล็กเส้นกลม (RB) ให้วางทาบเหลื่อมกันมีระยะไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้นนั้น และต้องงอปลายเหล็กด้วย ตัวอย่างเช่น RB-9 จะได้ 9 มม. x 40 เท่ากับ 360 มม. หรือ 36 ซม. และงอปลาย 180 องศา
.
2) เหล็กข้ออ้อย (DB) ให้วางทาบเหลื่อมกัน ตามเกรดเหล็กคือ SD30 / SD40 / SD50 โดย มีระยะไม่น้อยกว่า 30 / 36 / 45 เท่าของเส้น ผ่านนย์กลาง ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น DB-12 (SD40) จะได้ 12 มม. x 36 เท่ากับ432 มม. หรือ 43.2 ซม.ไม่ต้องงอปลาย เป็นต้น

ตำแหน่งต่อทาบเหล็กเสริม
ระยะต่อทาบเหล็กเสริม1.png

#ตำแหน่งต่อทาบเหล็กเสริม
.
ในการต่อทาบเหล็กนั้น โดยเฉพาะคาน จะมี "2 จุดที่ต้องระวัง" เพราะเป็นนตรายต่อโครงสร้างได้ คือ
1) "ใกล้หัวเสา" สำหรับ "เหล็กบน" จะเกิดแรงเฉือนบริเวณนี้มากที่สุด ทำให้การต่อทาบหลุดได้
2) "กลางคาน" สำหรับ "เหล็กล่าง" จะเกิดแรงดึงและแรงเฉือนบริเวณนี้มากที่สุด ทำให้การต่อทาบหลุดได้เช่นกัน
.
ฉะนั้นเมื่อทำการต่อทาบ "เหล็กบนให้ต่อกลาง" และข้างบนคอนกรีตรับแรงเป็นหลักอยู่แล้ว ส่วน "เหล็กล่างให้ต่อริม" แทน เพราะข้างล่างบริเวณกลางคานเหล็กต้องรับแรงดึงเต็ม ๆ ...หลายคนจึงอาจเคยได้ยินว่า เหล็ก "บนต่อกลาง - ล่างต่อริม" นั่นเอง


Tip :
การต่อทาบเหล็กใช่ว่า บนต่อกลาง-ล่างต่อริมเสมอ แต่เฉพาะกรณีที่เป็นคานที่มีเสารับหัวและท้ายเท่านั้น "ไม่ใช่คานยื่นหรือพื้นยื่น" ที่ต้องให้วิศวกรแนะนำเป็นกรณีพิเศษ

ตำแหน่งหยุดเทคอนกรีต
ตำแหน่งการหยุดเทคอนกรีต.png

#ตำแหน่งหยุดเทคอนกรีต
.
การเทคอนกรีตพร้อมกันโดยไม่หยุดเทนั้นย่อมดีกว่า แต่อาจมีบางกรณีที่ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่สามารถเทจนเสร็จรวดเดียวได้ หรือกรณีจงใจแบ่งเท เพื่อป้องกันการหด-ขยายตัวของคอนกรีต หรือป้องกันการแตกร้าว เป็นต้น
.
ซึ่งทางวิศวกรก็กำหนดให้สามารถหยุดเทได้แต่ต้องรู้ว่าหยุดตรงไหน วิธีการอย่างไร ? โดยเฉพาะคานและพื้น จะมีข้อกำหนดทั่วไปให้ "หยุดเทในบริเวณกึ่งกลางคาน" หรือกลางของแนวพื้น เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีแรงเฉือน
น้อยที่สุด โดยใช้ไม้แบบกั้นให้ตั้งฉาก หรือถ้ามีการวางเหล็กเสริมตามแบบระบุหรือวิศวกรแนะนำ ก็ต้องปฏิบัติตาม
.
Tip :
การหยุดเทคานต้องดูด้วยว่าเป็น"คานช่วงเดียว" (Simple Beam) จะมีตำแหน่งรับแรงเฉือนสูงสุดที่กลางคานแต่ถ้าเป็น "คานต่อเนื่อง"(Continuous Beam) ตำแหน่งรับแรงเฉือนสูงสุดจะเยื้องกลางตามระยะคาน ไม่ใช่ตรงกลางซะทีเดียวฉนั้นดีที่สุดควรสอบถามวิศวกรผู้ออกแบบ

ความคลาดเคลื่อนงานหล่อคอนกรีต
ความคลาดเคลื่อนงานหล่อคอนกรีต.png
ความคลาดเคลื่อนงานหล่อคอนกรีต1.png

#ความคลาดเคลื่อนงานหล่อคอนกรีต
.
เนื่องจากในการก่อสร้างให้ได้ "ดิ่ง ฉาก แนว" ของโครงสร้างนั้นเสมือน "ต้นน้ำ" ที่จะนำมาซึ่งแนวอื่นๆบิดเบี้ยวไปมาด้วย โดยเฉพาะส่วนแนวก่อฉาบผนัง ที่จะมาตามแก้ภายหลังจะยากลำบากมากขึ้น และส่งผลต่อโครงสร้าง
ที่อาจไม่แข็งแรงอย่างที่ควรจะเป็นได้ จึงมีการกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนให้เป็นแนวทางในแต่ละประเภทโครงสร้างกันครับ

มาตรฐานน้ำหนักของเหล็ก
มาตรฐานน้ำหนักของเหล็ก.png

#มาตรฐานน้ำหนักของเหล็ก
.
การกำหนดมาตรฐานน้ำหนักของเหล็กไว้นั้นเพื่อไว้อ้างอิงในการตรวจสอบได้ง่าย โดยไม่ต้องส่งเหล็กไปดึงทดสอบ
.
ตัวอย่าง DB-12 หรือ เหล็กข้ออ้อยขนาด 12 มม. มาตรฐานจะมีน้ำหนัก 0.888 กก./ม. ± 5 % เท่ากับ ±0.0444 กก. ฉนั้นเหล็กน้ำหนักน้อยสุดจึงเท่ากับ 0.888 ลบด้วย 0.0444 เท่ากับ 0.8436 กก. หมายความว่า ถ้าตัดไปช่างได้ น้อยกว่า 0.8436 กก./ม. ก็อาจเป็นเหล็กคุณภาพไม่ดี ไม่ได้น้ำหนัก

การงอปลายเหล็กเสริม
การงอปลายเหล็กเสริม.png

#การงอปลายเหล็กเสริม
.
ต้องรู้อีกส่วน คือ "การงอปลายเหล็ก" จะช่วยเพิ่มแรงยึดเกาะระหว่างผิวของเหล็กกับคอนกรีตเมื่อโครงสร้างต้องรับแรง ก็จะช่วยให้เหล็กไม่รูดไม่ให้รับน้ำหนักได้น้อยลง โดยมีข้อกำหนดดังนี้
.
1) "เหล็กเส้นกลม" (RB) แรงยึดเกาะน้อยจึงต้อง "งอปลาย 180 องศา" หรือดัดเป็นครึ่งวงกลม และจะต้องมีส่วนปลายยื่นต่อไปอีกอย่างน้อย 4 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กแต่ไม่ต่ำกว่า 6 ซม. เช่น ดัดเหล็ก DB-12 เป็น 4 x 1.2 ซม.เท่ากับ 4.8 ซม. แต่ต้องไม่ ต่ำกว่า 6 ซม.
.
2) เหล็กข้ออ้อย (DB) แรงยึดเกาะมากกว่าจึง "งอเพียง 90 องศา" หรือดัดเป็นมุมฉากและต้องมีส่วนปลายยื่นต่อไปอีกอย่างน้อย 12 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็ก เช่น ดัดเหล็ก DB-12 เป็น 12 x 1.2 ซม. เท่ากับ 14.4 ซม .อีกส่วนที่สำคัญคือ "เส้นผ่าศูนย์กลางของตัวดัด" ก็มีข้อกำหนดว่าเส้นผ่าศนย์กลางของตัวดัดต้อง "ไม่น้อยกว่า 6 เท่า" ของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก เช่น เหล็ก DB-12 เป็น 6 x 1.2 เท่ากับ 7.2 ซม.

การงอปลายเหล็กปลอก

#การงอปลายเหล็กปลอก
.
สำหรับเหล็กปลอกจะมีส่วนต่างจากเหล็กเสริมหลักเล็กน้อย โดยการงอปลายเหล็ก 90 องศาหรือดัดเป็นมุมฉาก จะต้องมีส่วนปลายยื่นต่อไปอีกอย่างน้อย 6 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก เช่น ดัดเหล็ก RB-6 เป็น 6 x 0.6 ซม. เท่ากับ 3.6 ซม
.
และเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวดัด ต้องไม่น้อยกว่า 4 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก เช่น RB-6 เป็น 4 x 0.6 เท่ากับ 2.4 ซม. ปัดเศษเป็น 2.5 ซม.

bottom of page